ครีมกันแดด 101 ความรู้เกี่ยวกับครีมกันแดด ที่คนรักผิวต้องรู้
ผิวแห้งเกิดจากอะไร
ผิวแห้ง เกิดจากอะไร?
20/12/2013
เคร็ดลับหน้าใส 6
เคล็ดลับหน้าใส เร่งด่วน 6 วิธีสุดประหยัด
05/02/2014

แอดไลน์ รีบอร์น


ครีมกันแดด ความรู้เบื่องต้นที่ต้องรู้

สารกันแดด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกันแดด
ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เราสามารถสังเกตได้ชัดเจนเลยว่าอากาศร้อนขึ้นทุกวันๆ แสงอาทิตย์ก็แรงขึ้นจนเหมือนตัวจะไหม้เวลาออกแดดนานๆ ยิ่งในเมืองไทยไม่ต้องพูดถึงเลย ร้อนสุดๆ

ครีมกันแดด จึงเป็นสิ่ง”จำเป็น”สำหรับทุกคนในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ผู้หญิง ผู้ชาย วัยรุ่น คนแก่หรือแม้กระทั่งคนสูงวัย ครีมกันแดด ไม่ใช่สิ่งที่เราเคยรู้จักว่าต้องใช้เฉพาะตอนไปทะเลหรือเล่นกีฬากลางแจ้งอีกต่อไป ดังนั้น ครีมกันแดด เป็นสิ่งสำคัญและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในรายการครีมที่ต้องใช้ทุกวันเป็นประจำไม่ต่างจากครีมบำรุงตัวอื่นๆที่คุณใช้กันอยู่เป็นประจำ จริงๆแล้ว ผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นให้ประโยชน์มากกว่าผลิตภัณฑ์ที่บำรุงหลายเท่านัก


ทำไมต้องใช้กันแดดทุกวัน?

คำตอบง่ายๆคือ แสงอาทิตย์และรังสีอัลตราไวโอเลต UVA UVB เป็นหนึ่งในปัจจัยที่อันตรายที่สุดในการสร้างความเสียหายให้กับผิวพรรณของมนุษย์

นอกจากรังสี UVB และ UVA สามารถสร้างความเสียหายให้กับผิวพรรณของเราแล้ว มันยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้อีกด้วย (คิดตามกันเล่นๆดูนะ . . . เอาผักหรือเอาอาหารไปตากแดด แป๊ปๆก็เน่า กินไม่ได้ . . . ร่างกายคนเราก็คล้ายๆกัน แต่จะส่งผลในระยะยาว)

ถ้าคุณไม่เริ่มทา ครีมกันแดด ตั้งแต่วันนี้ อีก 5 ปี, 10 ปี หรือเร็วกว่านั้น ผิวพรรณของคุณอาจจะดูแก่กว่าวัยได้ถึง 10-20 ปี และผิวพรรณยังดูคล้ำเสีย ไม่สดใส นี่ยังไม่นับรวมริ้วรอยและจุดด่างดำ ฝ้า กระ ที่มักจะมาควบคู่กันด้วย ถ้าอยากรู้ว่าแสงแดดทำให้หน้าแก่ได้ขนาดไหน คลิกที่นี่


ครีมกันแดด ทำงานอย่างไร?

ดวงอาทิตย์ทำร้ายผิวของเราโดยเปร่งแสงอาทิตย์ที่มาพร้อมกับตัวการร้าย รังสีอัลตราไวโอเลต UVA และ UVB . . . แล้ว UVA และ UVB คืออะไร? แล้วมันต่างกันอย่างไร?

  • รังสี UVA (UVA = aging มีอายุมากขึ้น) เป็นสาเหตุทำให้เกิดริ้วรอยจุดด่างดำ ทำให้ผิวพรรณของเราแก่ขึ้น และเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งผิวหนัง (สังเกตุไหมทำไมชาวนา กรรมกร คนที่ทำงานเกี่ยวกับการขับรถ หรืออาชีพอะไรก็ตามที่ต้องโดนแดดบ่อยๆนั้น หน้าของพวกเขาส่วนใหญ่แก่กว่าวัย หมองคล้ำ ดูไม่น่ามองเท่าไหร่นัก)

UVA นอกจากจะทำร้ายผิวชั้นนอกหรือ epidermis แล้ว ยังทะลุเข้าไปทำลายคอลลาเจนและอิลาสตินที่เป็นโครงสร้างผิวในชั้น dermis อีกด้วย

  • รังสี UVB (UVB = burning เกิดการเผาไหม้) UVB ทำให้ผิวเราคล้ำ แทนลง ดำลง และอาจจะถึงขั้นไหม้จนเกิดอาการ แดง แสบ คัน นอกจากนั้น UVB ยังเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง

UVB จะทำลายเซลล์ผิวเฉพาะบนชั้น epidermis หรือผิวชั้นนอกเท่านั้น แต่เพียงแค่ชั้นนอกก็ถือว่าเป็นอันตรายแล้วเพราะ เซลล์ผิวและ DNA ก็อยู่บนผิวชั้นนอกนี้เช่นกัน

การใช้กันแดด

รู้อย่างนี้แล้วยังจะไม่สนใจเริ่มใช้ ครีมที่มีสรรพคุณป้องกันแสงแดด ทุกวันกันอีกหรือ? เพราะฉะนั้นถึงเวลาของ ครีมกันแดด ที่จะมาช่วยกู้ภัยจากอันตรายของรังสียูวีทั้งสองชนิด ซึ่งในโลกปัจจุบันชั้นบรรยากาศของโลกเราบางลงกว่าสมัยก่อนและยังคงบางลงเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลให้รังสี UVA และ UVB ที่หลุดรอดเข้ามามีความแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

สารกรองแสงซึ่งเป็นส่วนผสมของ ผลิตภัณฑ์กันแดด ทำหน้าที่ป้องกันรังสี UV ด้วยการรวมตัวและทำงานร่วมกันของสารกรองแสง ซึ่งจะเกิดบนผิวหนังของคุณ มีทั้งแบบสะท้อนรังสีออกไปและแบบดูดซับรังสี UV

การทา ผลิตภัณฑ์กันแดด ทุกวันป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้คุณปลอดภัยจากรังสี UVA และ UVB โดยเฉพาะถ้าคุณต้องทำงานกลางแจ้งหรือออกไปโดนแดดอยู่เป็นประจำหรือแม้กระทั่งขับรถตอนกลางวันบ่อยๆ

สำหรับคนที่ทำงานในบริษัทหรือที่ใดก็ตามที่อยู่ในห้องกระจกหรือมีหน้าต่างที่ทำให้แสงส่องมาถึงตัวคุณได้ การทา ครีมที่มีส่วนผสมช่วยกันแดด มันก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้เยอะอยู่ดี เพราะรู้หรือไม่ว่า? UVA ตัวการร้ายเร่งอายุของผิวพรรณคุณนั้นสามารถทะลุกระจกธรรมดาได้สบายๆ แม้กระทั่งกระจกคุณภาพสูง ราคาแพงลิบ ก็ยังไม่สามารถกันรังสี UVA จากแสงแดดได้ 100%

จากสื่อต่างๆ คุณอาจจะเห็นผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มต่างๆที่ช่วยแก้ปัญหาหน้าแก่ก่อนวัย, จุดด่างดำ, และปัญหาผิวต่างๆมากมาย ซึ่งทำให้คุณอาจคิดว่าการบำรุงนั้นได้ผลดีกว่าและสำคัญกว่าการปกป้องผิวด้วย ครีมกันแดด . . . บอกได้คำเดียวเลยครับว่า ผิดถนัด! เพราะ ไม่มียาวิเศษหรือโลชั่นขั้นเทพตัวไหนจะดีไปกว่าการปกป้องผิวพรรณด้วยการใช้ ครีมกันแดด อีกแล้ว ดั่งสุภาษิตที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” ซึ่งนำมาประยุกต์กับคนเราสมัยนี้ได้เต็มๆ

มันจะง่ายกว่า (และประหยัดกว่า) ไหม ถ้าป้องกันเสียแต่วันนี้ ป้องกันหน้าแก่ ป้องกันจุดด่างดำ ป้องกันปัญหาของผิวพรรณต่างๆที่มาจากแสงแดด แทนที่จะไปซื้อครีมแพงแสนแพงมาใช้ หรือการไปทำเลเซอร์และการทำทรีทเม้นท์หน้าราคามหาโหด โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะได้ผลจริงกับตัวคุณหรือเปล่า.


ครีมกันแดด ไม่ใช่ One Stop Service ในการปกป้องคุณจากแสงแดด

ครีมกันแดด-101-3

ถึงแม้ว่า Sun Screen จะปกป้องคุณจากภัยร้ายที่มาจากแสงแดดได้ดีเท่าไหร่ก็ตาม แต่มันก็ไม่ได้หมายถึงจะปกป้องคุณได้ 100% จากแสงอาทิตย์และจำนวนเฉดของรังสีทั้งหมด ( หรือที่เรียกกันว่า full spectrum ประมาณว่าคล้ายๆเฉดสีทั้งหมดที่ออกมาจากแสงที่สายตาเรามองไม่เห็น)

ผลิตภัณฑ์กันแดด ที่เขียนกำกับว่า Broad Spectrum ที่เหมือนจะบอกผู้บริโภคว่าครีมตัวนี้สามารถป้องกันได้ 100% เต็ม จริงๆแล้วครีมที่กำกับว่า broad spectrum ไม่ได้กันแดดได้ 100% เต็ม แต่กันได้ทั้ง UVA และ UVB ซึ่งสมัยนี้สามารถหาได้จากสารกันแดดจำพวก physical sunscreen (อยากรู้ความแตกต่างของ physical และ chemical sunscreen คลิกอ่านที่นี่)

ความสามารถในการป้องกันรังสี UV ยังลดถอนประสิทธิภาพลงด้วยหลายๆปัจจัย ตัวอย่างเช่น ครีมกันแดดทุกตัวนั้นต้องทาซ้ำเพื่อที่จะคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของการป้องกันแสงแดด ซึ่งก็มีผู้ผลิตที่มักง่ายลดความทนทานต่อแสงแดดลงด้วยการใส่ส่วนผสมที่ราคาถูกเพื่อลดต้นทุนการผลิตลงเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น หรือบางผลิตภัณฑ์ทำให้หน้ามันเหนียวเหนอะหนะมากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป.

ดังนั้น จะให้ดีที่สุด ทากันแดดร่วมกับการใส่หมวก (เมื่อออกแดดนะ ถ้าใส่อยู่ในตึกหรือในบ้าน อาจจะโดนหาว่าบ้าได้) ขับรถที่มีฟิล์มกรอกแสง, ใส่แว่นตากันแดด, ใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดแขนขาในขณะอยู่กลางแจ้ง เป็นต้น ที่สำคัญจำไว้ว่าแดดที่แรงที่สุดอยู่ในช่วง 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น

ในขณะที่หลายๆคนอาจจะรู้แล้วว่าความสำคัญของผลิตภัณฑ์กันแดดมีมากแค่ไหน

  • แต่รู้ไหมว่า ผลิตภัณฑ์กันแดด ทุกตัว ถึงมีค่า SPF เท่ากัน PA เท่ากัน แต่ครีมเหล่านั้นไม่ได้ให้ประโยชน์เท่ากัน (มาดูกันว่า SPF จริงๆแล้วคืออะไร)
  • รู้ไหมว่าครีมบำรุง เมคอัพ หรือ BB ครีมนั้นอาจจะไม่ได้ให้ผลลัพธ์ในด้านการป้องกันแสงแดดเท่าที่ควร?
  • รู้หรือไม่ว่าคุณควรจะใช้สารกันแดดปริมาณประมาณเท่ากับ 1/4 ช้อนชาในการทากันแดดบนใบหน้า
  • รู้หรือไม่ว่าคุณจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหรือเช็ดหน้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันในการที่จะล้างครีมกันแดดให้ออกอย่างหมดจด?

[ source: www.loc.gov / www.aad.org / bioticon.com]


แอดไลน์ รีบอร์น

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published.